ข้อมูลพื้นฐานคณะบริหารธุรกิจ
คณะบริหารธุรกิจ เป็นคณะแรกของวิทยาลัยราชพฤกษ์ ซึ่งได้รับอนุญาตให้จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาบนเนื้อที่กว่า 36 ไร่ ในปีการศึกษา 2549 เพื่อผลิตบัณฑิตคณะบริหารธุรกิจ ให้เป็นคนดีมีคุณภาพคุณธรรมและจริยธรรมเป็นบัณฑิตที่มีทักษะความรู้ความชำนาญในแต่ละสาขาวิชา มี 4สาขาวิชา คือสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาการจัดการ
ในปีการศึกษา 2550 สาขาวิชาการบัญชีได้ปรับฐานะเป็นคณะการบัญชี และคณะบริหารธุรกิจได้เปิดสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มอีก 1 สาขา รวมเป็น 4 สาขา เช่นเดิม คือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และในปีการศึกษา 2553 คณะบริหารธุรกิจได้เปิดสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ขึ้นอีก 1 สาขาวิชา ปัจจุบันคณะบริหารธุรกิจ จัดให้มีการเรียนการสอนจำนวน 4 สาขา และ 1 หลักสูตร คือ สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
รายนามคณะกรรมการบริหารคณะ
ลำดับที่ |
ชื่อ – นามสกุล
|
ตำแหน่ง |
1 |
รองศาสตราจารย์ ศิริ ภู่พงษ์วัฒนา |
คณบดี |
2 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์ |
รองคณบดีด้านวิจัย ด้านประกันคุณภาพ และด้านวิชาการ |
3 |
ดร. กุณฑิญา จิรทิวาธวัช |
รองคณบดีด้านกิจการนิสิต ด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านบริการวิชาการ |
4 |
อาจารย์ สุนทรีย์ สองเมือง |
หัวหน้าสาขาวิชาการตลาดดิจิทัล |
5 |
ดร. เพียงเดือน เกิดอำแพง |
หัวหน้าสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ |
6 |
อาจารย์ วันทิกา หิรัญเทศ |
หัวหน้าสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว |
7 |
อาจารย์ อุทุมพร อยู่สุข |
รักษาการหัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน |
8 |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ |
ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต |
ปรัชญา
“บริการดี มีเทคโนโลยีก้าวหน้า จัดการเด่น เน้นคุณธรรม นำหน้าสู่สากล”
วิสัยทัศน์
คณะบริหารธุรกิจ มุ่งผลิตบัณฑิตในทุกสาขา ให้เป็นบุคลากรของชาติในการรับใช้สังคม เป็นผู้มีความรู้ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้
พันธกิจ
-
การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในวิชาการ และมีความสามารถในการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำความรู้ใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาใช้ในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจของประเทศ
-
สร้างเสริมการค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการและเพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ในการพัฒนาสังคม และพัฒนาประเทศชาติ
-
เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและเผยแพร่ความรู้ด้านต่างๆ ให้แก่ ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติ
-
ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ร่วมสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมอันดีงาม เพื่อดำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย
-
บริหารจัดการโดยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมและการมีส่วนร่วมของคณาจารย์และสาขา
|